,

ปัญหาของผู้ใช้รถเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนเพลาขับ

ปัญหาของผู้ใช้รถเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนเพลาขับ

1. ราคาเพลาขับใหม่มีราคาสูงมาก ทั้งที่เป็นรถรุ่นเก่า

2. เปลี่ยนเพลาขับมือสองอาจได้รับเพลาขับที่ไม่ตรงกับรุ่นแต่สามารถเทียบเคียงได้
ส่งผลให้มีปัญหาในภายหลัง โดยเฉพาะเพลาขับบางรุ่นมีลักษณะคล้ายกันมาก

3. ความไม่มั่นใจว่าเพลาขับที่ช่างนำมาใส่ให้เป็นเพลาประเภทไหน

– เพลาซ่อมโดยวิธีพอก-เจียร์ (ราคาถูกมากแต่ความทนทานต่ำมาก) 2 สัปดาห์ – 3 เดือน
อาจจะเสียอีกได้แล้วแต่ความสึกหรอมากน้อยของเพลาตัวเดิม มีการรับประกันไม่นาน
– เพลาขับมือสองจะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ได้สึกหรอมากน้อยเพียงใด ราคาปานกลาง
แล้วแต่รุ่น ความทนทานแล้วการเลือกของผู้ซื้อ รับประกันประมาณ 7 วัน

4. เปลี่ยนเฉพาะหัวนอกใหม่ ซึ่งมีคุณภาพตามยี่ห้อและประเทศที่ผลิต อย่างไรก็ตาม ไม่มีการซ่อมแซม
หัวเพลาด้านใน หลายครั้งพบว่า การเปลี่ยนหัวนอกแต่อย่างเดียวนั้นและหัวนอกที่นำมาใช้มีคุณภาพต่ำ
(มีหลายเกรดเพื่อต้นทุนที่ต่ำ) โดยในรถหลายรุ่นต้องใช้ช่างที่ชำนาญงานด้านนี้โดยตรง และส่วนของ
หัวด้านใน (หัวที่ติดเกียร์) มักจะได้ยินว่า มีการสึกหรอมีน้อย ช่างมักจะไม่ทำอะไรหรือตรวจสอบให้
แต่ในความเป็นจริงพบว่า หัวเพลาด้านในมักจะสึกหรอได้ไม่น้อยเช่นกัน ทำให้ไม่ได้แก้ปัญหา
การซ่อมเพลาอย่างเบ็ดเสร็จ

5. การเข้าศูนย์บริการเปลี่ยนเพลาขับใหม่ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ในแง่ค่าใช้จ่ายสูงที่สุด
ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันคงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด

6. เพลาขับนาสโก้ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับท่านเจ้าของรถผู้มองการณ์ไกลในประสิทธิภาพ
และความคุ้มค่าเกินราคา ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี ในประเทศไทยที่รับใช้นักขับรถทุกระดับ
ด้วยความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า และทีมงานที่มีฐานของผู้มีใจรักรถ และชอบรถยนต์
เป็นที่ตั้ง จึงเป็นสิ่งที่นาสโก้มอบให้ผู้ใช้รถด้วย คุณภาพ และบริการ

,

เทคนิคการซ่อมแซม CV JOINT

เทคนิคการซ่อมแซม CV JOINT
CV JOINT ที่ชำรุด คือ CV JOINT ที่มีการสึกกร่อนหรือสึกหรอเป็นรอยในรางลูกปืน เช่นมีหลุม
มีรอย ที่เกิดจากเศษเหล็กที่หลุดจากรางลูกปืนหรือมีเม็ดทราย ฝุ่น เสียดสีในรางลูกปืนจนสึกหรอ
ดังนั้นจึงมีเทคนิคการซ่อมแซม 2 วิธี

1. เชื่อมพอกเนื้อเหล็กหรือโลหะไปที่จุดที่สึกหรอ และเจียแต่งให้เข้ารูป
ข้อดี+ข้อเสีย

  • ร้านที่พอมีฝีมือสามารถทำได้
  • ใช้วัสดุภายใน CV. JOINT ของเดิมทุกอย่าง ทำให้ต้นทุนการทำต่ำ
  • ไม่คงทน เพราะเนื้อเหล็กที่พอกเข้าไปคนละเนื้อและความแข็งแกร่งของโลหะแต่ละชนิดไม่เท่ากัน
  • การใช้โลหะที่มีความร้อนสูงในการเชื่อมทำให้ค่าความแกร่งหรือผิวชุดแข็ง (hardness)
    ของโลหะในรางลูกปืนเสียหายหรือหมดสภาพไป กลายเป็นจุดอ่อนของหัวเพลาต่อไป
  • การเจียแต่งไม่เข้ารูป นำมาใช้งานและจะติดขัด หรือดึงรถไปข้างใดข้างหนึ่ง

2. ขยายรางลูกปืน
ข้อดี+ข้อเสีย

  • จะซ่อมได้เฉพาะ CV. JOINT ที่มีความสึกหรอน้อยไม่เกินสเปคที่กำหนด
  • ทำขยายรางลูกปืนโดยคล้ายกับขยายคว้านกระบอกสูบโดยขยายได้ตามขนาดลูกปืนที่กำหนด
  • เปลี่ยนลูกปืนภายใน CV. JOINT ใหม่หมด และชิ้นส่วนสำคัญนั้นๆ แทนชิ้นส่วนที่ชำรุด
  • ขนาดของลูกปืนใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้นแต่จะไม่ใหญ่จนเกินความหนาของการชุบแข็งของ
    หัวเพลาเดิม ทำให้หัวเพลาขับคงมีคุณสมบัติเดิมเท่าของใหม่
  • เป็นวิธีที่นิยมและเป็นมาตรฐานทั่วไปในต่างประเทศ